โพลบลูมเบิร์กคาด กนง.ขึ้น ดบ. 0.25% วันนี้ สกัดเงินเฟ้อหลังนักท่องเที่ยวแห่เข้าไทย

โพลบลูมเบิร์กคาด กนง.ขึ้น ดบ. 0.25% วันนี้ สกัดเงินเฟ้อหลังนักท่องเที่ยวแห่เข้าไทย

เศรษฐศาสตร์ นักวิเคราะห์ในโพลสำรวจของสำนักข่าวบลูมเบิร์กคาดการณ์ว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 4 ในการประชุมวันนี้ (25 ม.ค.) โดยมีเป้าหมายที่จะลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ ในขณะที่เศรษฐกิจของไทยมีแนวโน้มที่จะอยู่ในช่วงขาขึ้นเนื่องจากการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ นักวิเคราะห์ 19 ใน 20 คนที่เข้าร่วมการสำรวจของบลูมเบิร์กคาดการณ์ว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของธนาคารแห่งประเทศไทย จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% สู่ระดับ 1.50% ในวันนี้ ขณะที่นักวิเคราะห์ 1 รายคาดว่า ธปท.จะคงอัตราดอกเบี้ยเพื่อชะลอการแข็งค่าของเงินบาท โดยขณะนี้เงินบาทแข็งค่าขึ้น 17% แล้วนับตั้งแต่ที่ทรุดตัวลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 16 ปีในเดือน ต.ค. นักวิเคราะห์คาดว่า กนง.มีแนวโน้มจะยังคงใช้แนวทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปและรอบคอบ (gradual and measured rate moves) ท่ามกลางแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว อันเนื่องมาจากการไหลเข้าของนักท่องเที่ยวจีน หลังจากมีการเปิดประเทศ ข่าวเศรษฐศาสตร์ โดยคาดว่า กนง.จะยังคงปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเล็กน้อยเช่นนี้ต่อไปอีกระยะหนึ่ง ซึ่งแตกต่างจากธนาคารกลางของประเทศเพื่อนบ้านที่เริ่มส่งสัญญาณยุติวงจรการปรับขึ้นดอกเบี้ย ทิม ลีฬหะพันธุ์ นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด กล่าวว่า “ธปท.มีแนวโน้มที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้กลับสู่ระดับปกติอย่างค่อยเป็นค่อยไป และจะยังคงสื่อสารกับตลาดอย่างชัดเจน ผมคาดว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแบบเชิงรุกจะไม่เกิดขึ้น เมื่อพิจารณาจากความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก รวมทั้งการส่งออกที่หดตัวลงในช่วงที่ผ่านมา และการแข็งค่าของเงินบาท”

แนะนำข่าวเศรษฐศาสตร์ อ่านเพิ่มเติมคลิกเลย : ตลาดหุ้นเอเชียเปิดบวกเล็กน้อย นักลงทุนจับตาข้อมูล ศก.

จีดีพีจีนปี 2022 โตต่ำสุดในรอบเกือบครึ่งศตวรรษ สำหรับปีนี้พวกนักวิเคราะห์มีทั้งที่ยังไม่มั่นใจและที่ชี้ว่าพุ่งลิ่วแน่ๆ

บรรยากาศคึกคักช่วงใกล้เทศกาลตรุษจีนที่ถนนสายหนึ่งในกรุงปักกิ่ง เมื่อวันอังคาร (17 ม.ค.) ทั้งนี้ จีดีพีจีนขยายตัวได้อย่างย่ำแย่ในปี 2022 ที่ผ่านมา แต่กิจกรรมต่างๆ กำลังฟื้นตัวขึ้นมาใหม่ภายหลังทางการยกเลิกนโยบายโควิดเป็นศูนย์

เศรษฐศาสตร์  จีนในปี 2022 มีอัตราเติบโตต่ำที่สุดในรอบเกือบครึ่งศตวรรษ อันเป็นผลจากมาตรการล็อกดาวน์และวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้ แม้อัตราขยายตัวไตรมาสส่งท้ายปีและดัชนีหลายตัวในเดือนธันวาคมสูงเกินคาด แต่นักวิเคราะห์ตั้งข้อสังเกตว่า ชีพจรเศรษฐกิจโดยรวมยังอ่อนแอ และสะท้อนความท้าทายที่ปักกิ่งต้องเผชิญภายหลังยกเลิกนโยบายโควิดเป็นศูนย์อย่างฉับพลันเมื่อเดือนที่แล้วสำนักงานสถิติแห่งชาติของจีน รายงานในวันอังคาร (17 ม.ค.) ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ประจำไตรมาสสุดท้ายปีที่ผ่านมาขยายตัว 2.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2021 แต่ลดลงจากระดับ 3.9% ในไตรมาส 3สำหรับตลอดปี 2022 จีดีพีจีนขยายตัว 3% พลาดเป้าหมายอย่างเป็นทางการที่ 5.5% ไกลลิบ และแตกต่างอย่างมากจากอัตราเติบโต 8.4% ในปี 2021 นอกจากนั้น หากไม่นับปี 2020 ซึ่งเป็นปีแรกที่โควิดระบาด ทำให้เศรษฐกิจแดนมังกรแม้ดีกว่าชาติอื่นๆ ในโลกก็ยังมีอัตราขยายตัวแค่ 2.2% จีดีพีปี 2022 ที่ผ่านมา ถือเป็นการเติบโตที่ต่ำที่สุดนับจากปี 1976 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของการปฏิวัติวัฒนธรรมที่ดำเนินอยู่อย่างยาวนานเป็นสิบปี และสร้างความเสียหายใหญ่หลวงต่อเศรษฐกิจเฉพาะเดือนธันวาคม ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัว 1.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 2021 แต่ลดลงจาก 2.2% ในเดือนพฤศจิกายน ขณะที่ยอดขายปลีกซึ่งเป็นตัวบ่งชี้การบริโภค หดตัว 1.8% หลังจากดิ่งลง 5.9% ในเดือนพฤศจิกายนข้อมูลของทางการยังชี้ว่า การว่างงานลดลง แม้กิจกรรมการผลิตและการให้บริการได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิดระลอกใหม่ โดยอัตราว่างงานทั่วประเทศลดลงอยู่ที่ 5.5% ในเดือนธันวาคม จาก 5.7% ในเดือนพฤศจิกายนแต่ภาคอสังหาริมทรัพย์ถือเป็นหนึ่งในตัวถ่วงการเติบโตที่ร้ายแรงที่สุด ปีที่ผ่านมาการลงทุนในภาคนี้ดิ่งลง 10% เมื่อเทียบกับปี 2021 และถือเป็นการลดลงครั้งแรกนับจากเริ่มต้นเก็บข้อมูลในปี 1999 ขณะที่ยอดขายลดลงแรงที่สุดนับจากปี 1992 สะท้อนว่า มาตรการสนับสนุนของรัฐส่งผลน้อยมาก

จีดีพีจีน 3

ถึงแม้การยกเลิกนโยบายโควิดเป็นศูนย์อย่างฉับพลันเมื่อเดือนที่แล้ว กระตุ้นความคาดหวังว่า เศรษฐกิจจะฟื้นตัวในปี 2023 นี้

เศรษฐศาสตร์   แต่ขณะเดียวกัน การดำเนินการดังกล่าวส่งผลให้จำนวนผู้ติดโควิดเพิ่มขึ้นสูงมากและนักเศรษฐศาสตร์บางคนมองว่า อาจบ่อนทำลายการเติบโตระยะสั้น นอกจากนี้ ความตกต่ำในตลาดอสังหาริมทรัพย์ของจีน ตลอดจนดีมานด์ของทั่วโลก ยังหมายความว่า การเติบโตของจีนจะต้องพึ่งพิงผู้บริโภคในประเทศเป็นหลักแฮร์รี เมอร์ฟีย์ ครูซ นักเศรษฐศาสตร์ของมูดี้ส์ แอนาลิติกส์ คาดหมายว่า ปี 2023 จะเป็นปีที่ลุ่มๆ ดอนๆ สำหรับจีน ไม่ใช่เพียงเพราะต้องฝ่าฟันกับภัยคุกคามจากโควิดระลอกใหม่เท่านั้น แต่ยังรวมถึงสถานการณ์ในตลาดที่อยู่อาศัยที่เลวร้ายลง และความต้องการสินค้าออกของจีนที่ซบเซาจากทั่วโลกที่จะเป็นอุปสรรคใหญ่ต่อการเติบโตส่วน หลุยส์ ลู นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของออกซฟอร์ด อิโคโนมิกส์ ตั้งข้อสังเกตว่า ข้อมูลกิจกรรมเศรษฐกิจประจำเดือนธันวาคมถือว่าดีเกินคาดแต่ยังจัดว่าอ่อนแอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านอุปทานทั้งหมด ซึ่งสนับสนุนมุมมองของบริษัทที่ว่า การเปิดประเทศอีกครั้งของจีนในช่วงแรกจะยังไร้พลัง โดยเฉพาะในด้านการใช้จ่ายของผู้บริโภคอย่างไรก็ตาม ในทางกลับกันหากเศรษฐกิจจีนฟื้นตัวแข็งแกร่งอาจผ่อนคลายแนวโน้มเศรษฐกิจโลกซบเซา แต่ก็อาจกระตุ้นอัตราเงินเฟ้อทั่วโลกขณะที่ผู้วางนโยบายในประเทศต่างๆ เพิ่งเรียนรู้วิธีจัดการกับราคาสินค้าที่พุ่งทำสถิติด้านนักเศรษฐศาสตร์ของโกลด์แมน แซคส์ ชี้ว่า การเปิดประเทศเร็วเกินคาดของจีนส่งผลรุนแรงต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น การขาดแคลนแรงงานชั่วคราว และการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานอย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์หลายคนมองแนวโน้มเศรษฐกิจจีนแง่บวก เช่น เจ้าผิง ซู จากเจพี มอร์แกน แอสเส็ต แมเนจเมนต์ ที่คาดว่า จะเห็นการฟื้นตัวอย่างชัดเจนในปีนี้อันเป็นผลจากการเปิดประเทศและนโยบายกระตุ้นของปักกิ่งส่วน ไมเคิล ฮิวสัน หัวหน้านักวิเคราะห์ตลาดของซีเอ็มซี มาร์เกตส์ บอกว่า เมื่อมองไปที่ปี 2023 ก็มองเห็นได้ว่าจะมีการดีดตัวกลับขึ้นมาอย่างแรงในช่วงไตรมาสหน้า โดยที่ปีนี้เทศกาลตรุษจีนก็มาถึงเร็ว แค่ช่วง 2 สัปดาห์ข้างหน้าก็มาแล้ว

แนะนำข่าวเศรษฐศาตสร์ อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย :  หวั่นมาตรการสะดุดช่วง “เลือกตั้ง” ครม.ต่ออายุลดภาษีดีเซล 5 บาทยาว 4 เดือน

เตรียมการลงทุนตราสารหนี้ในปี 2566 เมื่อสิ้นสุดวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้น

การลงทุนในตราสารหนี้ไทยปี 2565 ให้อัตราผลตอบแทนติดลบสอดคล้องกับตลาดตราสารหนี้ทั่วโลก

ข่าวเศรษฐศาสตร์ จากผลกระทบของอัตราเงินเฟ้อสูงและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วและแรงของธนาคารกลางทั่วโลก สร้างความแปลกใจให้แก่นักลงทุนพอสมควร เพราะตราสารหนี้เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย ไม่น่าที่จะให้ผลตอบแทนติดลบได้ แล้วในปี 2566 การลงทุนในตลาดตราสารหนี้ไทยจะซ้ำรอยปี 2565 หรือไม่ อัตราเงินเฟ้อในระดับสูง การดำเนินนโยบายการเงินตึงตัว นโยบายโควิดเป็นศูนย์ในจีน และปัญหาความขัดแย้งเชิงภูมิรัฐศาสตร์ (สงครามรัสเซีย-ยูเครน) เป็นปัจจัยลบทำให้ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อของประเทศหลักลดลงสู่เกณฑ์หดตัวเป็นที่คาดการณ์กันว่าวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นของโลกจะสิ้นสุดลงในช่วงกลางปี 2566 หลังจากที่เศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย นำโดยสหรัฐฯ และยูโรโซน เนื่องจากธนาคารกลางทั่วโลกปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว เพื่อชะลอการเร่งตัวของเงินเฟ้อและวิกฤตพลังงานในยุโรป โดยดัชนีผลสำรวจผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมของโลก ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องชี้ด้านความเชื่อมั่นที่นักลงทุนให้ความสนใจ ได้ปรับลดลงสู่เกณฑ์หดตัวต่ำกว่าระดับ 50 จุด ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 จากยอดคำสั่งซื้อใหม่ที่อ่อนแอและการค้าระหว่างประเทศที่ลดลงและต้นทุนที่ยังคงอยู่ในระดับสูง สะท้อนแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะข้างหน้ามีแนวโน้มที่จะชะลอลง

เตรียมการลงทุน 18

ในขณะที่นักเศรษฐศาสตร์โดยส่วนใหญ่ที่สำรวจโดย Bloomberg คาดว่าประเทศเศรษฐกิจหลักมีความเป็นไปได้ที่จะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยมีโอกาสสูงขึ้นในปี 2566

ข่าวเศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจหลักบางประเทศมีโอกาสที่จะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ประเทศไทยมีเศรษฐกิจขนาดเล็กและพึ่งภาคต่างประเทศเป็นหลักทั้งการส่งออกสินค้าและการท่องเที่ยว ย่อมได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมหากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงหรือเข้าสู่ภาวะถดถอย เศรษฐกิจไทยที่กำลังฟื้นตัวและต้องการแรงส่งต่อให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ต่อเนื่อง อาจจะเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ผู้ดำเนินนโยบายการเงินชั่งน้ำหนักระหว่างประโยชน์และผลกระทบต่อเศรษฐกิจ แรงกดดันด้านเงินเฟ้อและเสถียรภาพของระบบการเงิน แม้ว่าหน่วยงานภาครัฐจะคาดว่าเศรษฐกิจในปี 2566 จะขยายตัวในช่วง 3.0 – 4.0% (yoy) จากแรงขับเคลื่อนของการบริโภคและนักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่วนอัตราเงินเฟ้อคาดว่าชะลอลงมาในช่วง 2.5 – 3.5% (yoy) ตามทิศทางราคาพลังงาน และสามารถกลับสู่กรอบเป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทยได้ในช่วงปลายปี 2566 หากหน่วยงานภาครัฐต้องการให้เศรษฐกิจยังเติบโตได้ต่อเนื่อง การดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจและการเงินในปี 2566 โดยเฉพาะนโยบายการเงินจึงต้องระมัดระวัง และมีความเป็นไปได้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ที่สำรวจโดย Bloomberg ณ วันที่ 13 ธันวาคม 2565 คาดการณ์ว่าดอกเบี้ยนโยบายไทยจะขึ้นไปสู่ระดับ 2.00% ต่อปี ในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 สอดคล้องการเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรอายุประมาณ 2 ปี มีความสอดคล้องกับแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายในอนาคต โดยข้อมูลในอดีต ส่วนใหญ่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรจะขึ้นไปสูงสุดก่อนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งสุดท้ายในแต่ละรอบ กับทางธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจจะขึ้นดอกเบี้ยถึงจุดสูงสุดในช่วงไตรมาสแรกของปี 2566 นักลงทุนที่กำลังคิดว่าตราสารหนี้ไทยยังจะปลอดภัยไหมและยังลงทุนได้ไหม หากพิจารณาจากปัจจัยลบต่างๆ ทั้งจากการเร่งขึ้นของเงินเฟ้อและดอกเบี้ยนโยบายที่กดดันให้ผลตอบแทนตราสารหนี้ไทยผันผวนและติดลบในช่วงปี 2565 เริ่มส่งสัญญาณที่ดีขึ้น จากแนวโน้มเงินเฟ้อที่ชะลอลงและการคาดการณ์ว่าการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางทั่วโลกจะสามารถสิ้นสุดลงภายในครึ่งแรกของปี 2566 นอกจากนี้ อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ไทยได้ทรงตัวอยู่ในระดับสูง สะท้อนว่าตลาดได้รับรู้ปัจจัยลบจากการขึ้นดอกเบี้ยในปีหน้าเป็นที่เรียบร้อย จากรูปข้างต้นจะเห็นว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับลดลงก่อนที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะทำจุดสูงสุด เนื่องจากตลาดจะรับรู้ปัจจัยด้านการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปแล้วล่วงหน้า ดังนั้น หากเศรษฐกิจโลกมีโอกาสที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอยและเศรษฐกิจไทยไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกได้ การกระจายการลงทุนในตราสารหนี้ทั้งพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้ภาคเอกชนไทยเมื่อตลาดรับรู้การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปมากพอแล้วจะมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่ดีเพราะราคาตราสารหนี้ที่ปรับลดลงมาแรงทำให้มีความน่าสนใจและการลงทุนในตราสารหนี้ยังช่วยลดความผันผวนของเงินลงทุนเมื่อสินทรัพย์เสี่ยงมีความผันผวนสูง อีกทั้งยังสามารถให้ผลตอบแทนส่วนเพิ่มได้และมีความเสี่ยงที่ต่ำกว่าการลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงต่างๆ โดยนักลงทุนสามารถเลือกลงทุนได้ทั้งทางตรงและผ่านกองทุนรวมที่บริหารโดยมืออาชีพ โดยขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาการลงทุนก่อนลงทุนทุกครั้ง เพื่อให้การลงทุนสร้างความมั่งคั่งภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้

แนะนำข่าวเศษฐศาสตร์ อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : การปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย : จำเป็น/แค่ไหน

COP 26 กับทิศทางการก่อสร้างในอนาคต

มีเรื่อง “ไกลตัว” ที่สำคัญเกิดขึ้นในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา

ข่าวเศรษฐศาสตร์ จนเราอาจจะนึกไม่ถึงว่าเกี่ยวข้องกับวงการก่อสร้างได้อย่างไร หลายๆ ท่านคงได้ยินข่าวว่า คณะผู้แทนประเทศไทย โดยท่านนายกรัฐมนตรี ได้แสดงเจตจำนงในการร่วมแก้ปัญหาภูมิอากาศอย่างเต็มที่ เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี ค.ศ. 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ในปี ค.ศ. 2065 พร้อมกันนี้ประเทศไทยได้แสดงถึงความก้าวหน้าอย่างเหนือชั้นโดย ในปี ค.ศ. 2019 ไทยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 17% เร็วกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือ 7% ภายในปี ค.ศ. 2020 ซึ่งเร็วกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ถึง 2 เท่า หลังให้สัตยาบันเป็นภาคีของความตกลงปารีสเมื่อปี ค.ศ. 2015 (COP21) นับว่าในวันดังกล่าวที่เมืองกลาสโกว์ สกอตแลนด์ ประเทศไทยยืนได้อย่างสง่าผ่าเผยประเทศหนึ่งในเวทีโลกว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำหรับคนในอุตสาหกรรมก่อสร้างอาจจะอยากรู้ว่า ประเทศไทยทำอะไรไปบ้างกับเรื่องนี้ เราถึงมาได้ขนาดนี้ แต่ก็ยังไม่สำคัญเท่ากับการคาดการณ์ว่า ประเทศไทยจะทำอะไรต่อไป เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายต่อไป และจะกระทบต่ออุตสาหกรรมก่อสร้างอย่างไรในอนาคตมองย้อนกลับไปในช่วง 5 ถึง 6 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2015 จะเห็นได้ว่า เรามีกิจกรรมการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาดเล็กเกิดขึ้นมากมาย ทั้งที่เป็น Solar Farm หรือโรงไฟฟ้าชีวมวล หรือโรงไฟฟ้าจากอุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์ หรือการรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านทดแทนการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงถ่านหิน เหล่านี้อาจถือได้ว่า เป็นผู้เล่นสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซ CO2 และก๊าซมีเทน ประกอบกับการเข้ามาอย่างมากขึ้นของรถยนต์ประหยัดพลังงานหลากหลายรูปแบบ

COP 26 กับทิศทาง8

นอกจากนี้เทรนด์ของสินค้าหลากหลายชนิด ให้ความสำคัญถึงการปล่อยก๊าซ CO2 ถ้าเราเลือกซื้อรถ

ข่าวเศรษฐศาสตร์ รถแต่ละรุ่นจะแจ้งถึง CO2/km ที่ปล่อยออก ถ้าเราจองตั๋วเครื่องบิน เราจะได้รับแจ้งบนบอร์ดดิ้งพาสว่าเครื่องบินที่เรานั่งปล่อย CO2 กี่มากกี่น้อย ความเข้มข้นของความตั้งใจที่จะลดการปล่อย CO2 นี้ อาจจะทำให้เราเห็นในแบบก่อสร้างว่า อาคารแต่ละหลังปล่อย CO2 มากเท่าไหร่ และต่อไปการประมูลงานก่อสร้างจะต้องคำนึงถึงกระบวนการทำงานที่ลดการปล่อย CO2 ด้วยเช่นกัน นอกเหนือไปจาก ราคา เวลา และคุณภาพ ทิศทางการก่อสร้าง น่าจะมุ่งไปในทิศทางที่เป็น Modular มากขึ้น ใช้เวลาการก่อสร้างน้อยลง ลด overhead ในเชิงของการใช้พลังงานสกปรกมากขึ้น ใช้วัสดุก่อสร้างที่ประหยัดพลังงานและลดการปล่อยก๊าซ CO2 ตั้งแต่วัสดุก่อสร้างจนถึงขั้นตอนก่อสร้างมากขึ้นปูนซีเมนต์ เป็นวัสดุก่อสร้างที่กระบวนการผลิตปล่อยก๊าซ CO2 ค่อนข้างมาก รองมาจากอุตสาหกรรมเหล็ก เนื่องจากกระบวนการผลิตที่ใช้ความร้อนสูงในการหลอมละลายแร่ธาตุต่างๆ ดังนั้น ผู้ผลิตปูนซีเมนต์ทุกรายในประเทศไทย จึงได้ร่วมมือกันผลักดันการใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก เพื่อทดแทนการใช้งานปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ที่นิยมใช้ดั้งเดิม โดยปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกจะสามารถลดปริมาณการปล่อย CO2 ได้ประมาณ 40 กิโลกรัม/ตันปูนซีเมนต์ที่ทดแทนได้ ถ้าเราสามารถใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก ทดแทนปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ได้ 5.8 ล้านตัน (จากปริมาณการบริโภคประมาณ 35 ล้านตันต่อปี) เราจะลดการปล่อย CO2 ได้ถึง 3 แสนตัน CO2 ทีเดียวท่านนายกรัฐมนตรีกล่าวในการประชุม COP26 ต่อหน้าผู้แทนประเทศต่างๆ กว่า 190 ประเทศ ว่า…เราไม่มีแผนสองสำหรับการลดอุณหภูมิของโลก เพราะว่าเรามีโลกเพียงใบเดียว ซึ่งเป็นบ้านของพวกเรา พร้อมกับคำสัญญาว่า “จะบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี ค.ศ. 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ในปี ค.ศ. 2065” ถึงตรงนี้ COP26 ดูเหมือนจะไม่ “ไกลตัว” เพราะเป็นเรื่องบ้านของเราเอง

แนะนำข่าวเศรษฐศาสตร์ อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : เศรษฐศาสตร์จุลภาคกับเรื่อง “หมูแพง”