ศิลปะการออกแบบและเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี แสดงผลงานศิลปนิพนธ์

สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ และ สาขานวัตกรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย

ออกแบบ ภาควิชาศิลปะการออกแบบและเทคโนโลยี คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) ประชันศิลปนิพนธ์ โชว์ไอเดีย โดยได้รับเกียรติจาก ดร.เกสินี กล่ำอยู่สุข ประธานกรรมการบริษัท ฟินาเล เวดดิง สตูดิโอ จำกัด เป็นประธานเปิดงาน โดยมี รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด อธิการบดี มทร.ธัญบุรี และ ศ.ดร. สมพร ธุรี คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ให้การต้อนรับ ณ หอศิลป์ อาคาร 2 คณะศิลปกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรี นายศุภกิตติ์ บุญศรี สาขาออกแบบผลิตภัณฑ์ เล่าว่า ในปัจจุบันนี้ คนเราหันมาเลี้ยงสัตว์ฟันแทะกันมากมาย แต่บางคนอาจ ไม่คำนึงถึงสภาพอากาศที่อยู่อาศัยของสัตว์ฟันแทะ จึงทำให้เกิด อันตรายต่อสัตว์ได้ จึง ทำการออกแบบและพัฒนาตู้ปรับอุณหภูมิสำหรับหนูแกสบี้ เพื่อป้องกันการเกิดโรคและการตายในการเลี้ยงสัตว์ประเภทฟันแทะ รูปทรงขอนไม้ เพราะว่าสัตว์พันธุ์นี้ชอบอาศัยอยู่ในโพรงต้นไม้ ซึ่งตู้มีขนาด 25 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 30 เซนติเมตร ตัวตู้ทำด้วยแผ่นอะคริลิค ทำความเย็นด้วยแผ่นเพลเทียร์ เพื่อช่วยในการสร้างความเย็นและปรับอุณหภูมิ ต่อด้วยพัดลมทั้ง 2 ตัว ช่วยปล่อยความเย็นและระบายความร้อน มีตัวสร้างความอบอุ่นในตัวสัตว์ ทำให้สภาพอากาศและสภาพแวดล้อมคล้ายธรรมชาติมากที่สุด

นายนนทวัฒน์ ศรสงวน สาขาวิชานวัตกรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย (เอกเครื่องหนัง)

ข่าวออกแบบ เล่าว่า ผลิตภัณฑ์กระเป๋าสัมภาระมอเตอร์ไซค์ ได้แรงบันดาลใจมาจากรูปแบบรอยสักของชนเผ่าพื้นเมืองของประเทศนิวซีแลนด์ชื่อชนเผ่าเมารี ลวดลายรอยสักของชนเผ่าเมารีนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่สวยงามโดเด่นและน่าสนใจ ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ชายที่จะสักเพื่อสื่อถึงความแข็งแกร่ง ใช้เทคนิคการเลเซอร์หนังแท้ ซึ่งการเลเซอร์ทำให้ลวดลายมีความคมชัดมากกว่าวิธีอื่น ๆ การออกแบบกระเป๋าสัมภาระสำหรับรถจักรยานยนต์ ประกอบไปด้วยกระเป๋า 2 ใบ และสายเชื่อมคล้องกระเป๋าแบบปรับได้สำหรับพาดกับใต้เบาะรถจักรยานยนต์ สำหรับผู้ที่ชื่นชอบในการขับขี่รถจักรยานยนต์ และยังสามารถใช้ได้กับรถจักรยานยนต์ทุกรุ่นที่มีถังน้ำมันด้านหน้าอีกด้วย นางสาวณัฐกมล สายบัว สาขานวัตกรรมออกแบบผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย (เอกหัตถกรรม) เล่าว่า ได้ทำการศึกษาและเก็บข้อมูลชุมชนจักสานบางเจ้าฉ่า จังหวัดอ่างทอง พบว่าคนสมัยใหม่ไม่รู้จักผลิตภัณฑ์จักสาน จึงได้ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์โคมไฟดอกบัวขึ้นมา โดยได้แรงบันดาลใจจากดอกบัว ใช้เทคนิคจักสานไม้ไผ่ หวายและเส้นพลาสติก โดยนำเอาเส้นพลาสติกมาร่วมกับงานจักสานไม้ไผ่และหวาย เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัย เข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่ชอบและหลงใหลในงานจักสาน ที่ต้องการผลิตภัณฑ์จักสานในรูปแบบใหม่ ๆ

แนะนำข่าวออกแบบ อ่านเพิ่มเติม คลิกเลย : เมื่อคนรุ่นใหม่ได้ลุกขึ้นมาสร้างไอเดียพื้นที่สาธารณะ