การออกแบบสถาปัตยกรรมช่วยชีวิตคนคิดสั้นที่สะพานโกลเดนเกตได้อย่างไร

เควิน ไฮนส์ เป็นผู้รอดชีวิตจากคิดสั้นกระโดดสะพานโกลเดนเกต ตอนนี้เขารณรงค์ให้สะพานแห่งนี้มีระบบยับยั้งการฆ่าตัวตาย

ข่าวออกแบบ สะพานโกลเดนเกต (Golden Gate Bridge) ในนครซานฟรานซิสโกของสหรัฐฯ คือหนึ่งในสิ่งปลูกสร้างอันโด่งดังที่สุดในโลก ทว่านับแต่เปิดใช้งานในปี 1937 สะพานยาว 2.7 กิโลเมตรแห่งนี้ยังกลายเป็นสถานที่ที่ผู้คนจำนวนมากใช้กระโดดปลิดชีพตัวเองด้วย ชื่อเสียงเชิงลบดังกล่าวกำลังจะกลายเป็นอดีต เมื่อมีการติดตั้งตาข่ายนิรภัยไว้ด้านใต้สะพาน ซึ่งกลุ่มผู้เกี่ยวข้องหลายคน รวมถึงผู้รอดชีวิตจากการฆ่าตัวตายที่สะพานแห่งนี้บอกว่า การออกแบบทางสถาปัตยกรรมใหม่นี้จะเป็น “ตัวแปรสำคัญ” ในการแก้ปัญหาการฆ่าตัวตายที่นี่ “สะพานนี้จะกลายเป็นประทีปนำทางสำคัญที่สุดในการป้องกันการฆ่าตัวตายทั่วโลก” เควิน ไฮนส์ บอกกับบีบีซีไม่ใช่เรื่องเกินจริงที่จะพูดว่า ชายวัย 41 ปีผู้นี้ได้อุทิศชีวิตที่สองของเขาให้แก่สะพานโกลเดนเกตเมื่อปี 2000 ตอนอายุได้ 19 ปี ไฮนส์รอดชีวิตจากการพยายามฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดจากสะพานโกลเดนเกตที่ความสูง 75 เมตรลงสู่ผืนน้ำอันหนาวเหน็บของมหาสมุทรแปซิฟิกข้อมูลจาก Golden Gate Bridge Highway and Transportation District หน่วยงานกำกับดูแลพื้นที่บริเวณสะพานโกลเดนเกตระบุว่า นับแต่สร้างแล้วเสร็จเมื่อ 85 ปีก่อน มีคนใช้สะพานแห่งนี้เป็นสถานที่ปลิดชีพตัวเองไปกว่า 1,800 คน

สถาปัตยกรรม 23

หลังจากไฮนส์ฟื้นตัวจากอาการบาดเจ็บสาหัสที่เกิดจากความพยายามฆ่าตัวตายครั้งนั้น เขาก็อุทิศตนเป็นนักรณรงค์ป้องกันการฆ่าตัวตาย อีกทั้งร่วมมีส่วนผลักดันให้มีการติดตั้งตาข่ายนิรภัยที่สะพานแห่งนี้

ข่าวออกแบบ แผนการการติดตั้งตาข่ายนิรภัยที่สะพานโกลเดนเกตได้รับการอนุมัติมาตั้งแต่ปี 2008 ทว่าการก่อสร้างเพิ่งจะได้เริ่มขึ้นในอีก 10 ปีต่อมา และการทำงานก็เผชิญกับความล่าช้าจากปัญหาต่าง ๆ เช่น ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว โดยในเบื้องต้นคาดว่าจะโครงการนี้จะใช้งบประมาณราว 76 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่การประเมินล่าสุดพบว่าค่าใช้จ่ายจริงได้พุ่งทะลุหลัก 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อันเป็นผลพวงมาจากการระบาดของโควิด-19 และปัญหาด้านการบริหารจัดการคาดว่าการติดตั้งตาข่ายนิรภัยจะแล้วเสร็จภายในเดือน พ.ย. 2023เควิน ไฮนส์ แสดงความเห็นต่อเรื่องนี้ว่า ความล่าช้าที่เกิดขึ้นเป็นเรื่อง “น่าเศร้า” แต่เขาอยากมุ่งความสนใจไปยังเรื่องที่ว่า โครงการซึ่งมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Suicide Deterrent System (ระบบยับยั้งการฆ่าตัวตาย) นี้กำลังจะกลายเป็นความจริง หลังจากมีการถกเถียงถึงเรื่องนี้มาตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1950“น่าเศร้าที่มันใช้เวลานานมาก แต่ผมก็ดีใจที่มันกำลังจะแล้วเสร็จ ผมอยากมองไปยังผลลัพธ์ที่ดีที่จะเกิดขึ้นเมื่อมันเสร็จสมบูรณ์มากกว่า” ไฮนส์ กล่าว ที่ผ่านมา การยับยั้งการฆ่าตัวตายที่สะพานโกลเดนเกตส่วนใหญ่ต้องอาศัยเจ้าหน้าที่ฝ่ายบังคับใช้กฎหมาย และกลุ่มอาสาสมัครต่าง ๆ

แนะนำข่าวออกแบบ อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : เผยโฉม เรือเต่ายักษ์ ออกแบบเป็น เมืองลอยน้ำ มูลค่าเกือบ 3 แสนล้าน

เตรียมการลงทุนตราสารหนี้ในปี 2566 เมื่อสิ้นสุดวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้น

การลงทุนในตราสารหนี้ไทยปี 2565 ให้อัตราผลตอบแทนติดลบสอดคล้องกับตลาดตราสารหนี้ทั่วโลก

ข่าวเศรษฐศาสตร์ จากผลกระทบของอัตราเงินเฟ้อสูงและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วและแรงของธนาคารกลางทั่วโลก สร้างความแปลกใจให้แก่นักลงทุนพอสมควร เพราะตราสารหนี้เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย ไม่น่าที่จะให้ผลตอบแทนติดลบได้ แล้วในปี 2566 การลงทุนในตลาดตราสารหนี้ไทยจะซ้ำรอยปี 2565 หรือไม่ อัตราเงินเฟ้อในระดับสูง การดำเนินนโยบายการเงินตึงตัว นโยบายโควิดเป็นศูนย์ในจีน และปัญหาความขัดแย้งเชิงภูมิรัฐศาสตร์ (สงครามรัสเซีย-ยูเครน) เป็นปัจจัยลบทำให้ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อของประเทศหลักลดลงสู่เกณฑ์หดตัวเป็นที่คาดการณ์กันว่าวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นของโลกจะสิ้นสุดลงในช่วงกลางปี 2566 หลังจากที่เศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย นำโดยสหรัฐฯ และยูโรโซน เนื่องจากธนาคารกลางทั่วโลกปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว เพื่อชะลอการเร่งตัวของเงินเฟ้อและวิกฤตพลังงานในยุโรป โดยดัชนีผลสำรวจผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมของโลก ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องชี้ด้านความเชื่อมั่นที่นักลงทุนให้ความสนใจ ได้ปรับลดลงสู่เกณฑ์หดตัวต่ำกว่าระดับ 50 จุด ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 จากยอดคำสั่งซื้อใหม่ที่อ่อนแอและการค้าระหว่างประเทศที่ลดลงและต้นทุนที่ยังคงอยู่ในระดับสูง สะท้อนแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะข้างหน้ามีแนวโน้มที่จะชะลอลง

เตรียมการลงทุน 18

ในขณะที่นักเศรษฐศาสตร์โดยส่วนใหญ่ที่สำรวจโดย Bloomberg คาดว่าประเทศเศรษฐกิจหลักมีความเป็นไปได้ที่จะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยมีโอกาสสูงขึ้นในปี 2566

ข่าวเศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจหลักบางประเทศมีโอกาสที่จะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ประเทศไทยมีเศรษฐกิจขนาดเล็กและพึ่งภาคต่างประเทศเป็นหลักทั้งการส่งออกสินค้าและการท่องเที่ยว ย่อมได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมหากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงหรือเข้าสู่ภาวะถดถอย เศรษฐกิจไทยที่กำลังฟื้นตัวและต้องการแรงส่งต่อให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ต่อเนื่อง อาจจะเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ผู้ดำเนินนโยบายการเงินชั่งน้ำหนักระหว่างประโยชน์และผลกระทบต่อเศรษฐกิจ แรงกดดันด้านเงินเฟ้อและเสถียรภาพของระบบการเงิน แม้ว่าหน่วยงานภาครัฐจะคาดว่าเศรษฐกิจในปี 2566 จะขยายตัวในช่วง 3.0 – 4.0% (yoy) จากแรงขับเคลื่อนของการบริโภคและนักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่วนอัตราเงินเฟ้อคาดว่าชะลอลงมาในช่วง 2.5 – 3.5% (yoy) ตามทิศทางราคาพลังงาน และสามารถกลับสู่กรอบเป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทยได้ในช่วงปลายปี 2566 หากหน่วยงานภาครัฐต้องการให้เศรษฐกิจยังเติบโตได้ต่อเนื่อง การดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจและการเงินในปี 2566 โดยเฉพาะนโยบายการเงินจึงต้องระมัดระวัง และมีความเป็นไปได้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ที่สำรวจโดย Bloomberg ณ วันที่ 13 ธันวาคม 2565 คาดการณ์ว่าดอกเบี้ยนโยบายไทยจะขึ้นไปสู่ระดับ 2.00% ต่อปี ในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 สอดคล้องการเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรอายุประมาณ 2 ปี มีความสอดคล้องกับแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายในอนาคต โดยข้อมูลในอดีต ส่วนใหญ่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรจะขึ้นไปสูงสุดก่อนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งสุดท้ายในแต่ละรอบ กับทางธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจจะขึ้นดอกเบี้ยถึงจุดสูงสุดในช่วงไตรมาสแรกของปี 2566 นักลงทุนที่กำลังคิดว่าตราสารหนี้ไทยยังจะปลอดภัยไหมและยังลงทุนได้ไหม หากพิจารณาจากปัจจัยลบต่างๆ ทั้งจากการเร่งขึ้นของเงินเฟ้อและดอกเบี้ยนโยบายที่กดดันให้ผลตอบแทนตราสารหนี้ไทยผันผวนและติดลบในช่วงปี 2565 เริ่มส่งสัญญาณที่ดีขึ้น จากแนวโน้มเงินเฟ้อที่ชะลอลงและการคาดการณ์ว่าการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางทั่วโลกจะสามารถสิ้นสุดลงภายในครึ่งแรกของปี 2566 นอกจากนี้ อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ไทยได้ทรงตัวอยู่ในระดับสูง สะท้อนว่าตลาดได้รับรู้ปัจจัยลบจากการขึ้นดอกเบี้ยในปีหน้าเป็นที่เรียบร้อย จากรูปข้างต้นจะเห็นว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับลดลงก่อนที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะทำจุดสูงสุด เนื่องจากตลาดจะรับรู้ปัจจัยด้านการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปแล้วล่วงหน้า ดังนั้น หากเศรษฐกิจโลกมีโอกาสที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอยและเศรษฐกิจไทยไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกได้ การกระจายการลงทุนในตราสารหนี้ทั้งพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้ภาคเอกชนไทยเมื่อตลาดรับรู้การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปมากพอแล้วจะมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่ดีเพราะราคาตราสารหนี้ที่ปรับลดลงมาแรงทำให้มีความน่าสนใจและการลงทุนในตราสารหนี้ยังช่วยลดความผันผวนของเงินลงทุนเมื่อสินทรัพย์เสี่ยงมีความผันผวนสูง อีกทั้งยังสามารถให้ผลตอบแทนส่วนเพิ่มได้และมีความเสี่ยงที่ต่ำกว่าการลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงต่างๆ โดยนักลงทุนสามารถเลือกลงทุนได้ทั้งทางตรงและผ่านกองทุนรวมที่บริหารโดยมืออาชีพ โดยขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาการลงทุนก่อนลงทุนทุกครั้ง เพื่อให้การลงทุนสร้างความมั่งคั่งภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้

แนะนำข่าวเศษฐศาสตร์ อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : การปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย : จำเป็น/แค่ไหน