
การออกแบบสถาปัตยกรรมช่วยชีวิตคนคิดสั้นที่สะพานโกลเดนเกตได้อย่างไร
เควิน ไฮนส์ เป็นผู้รอดชีวิตจากคิดสั้นกระโดดสะพานโกลเดนเกต ตอนนี้เขารณรงค์ให้สะพานแห่งนี้มีระบบยับยั้งการฆ่าตัวตาย
ข่าวออกแบบ สะพานโกลเดนเกต (Golden Gate Bridge) ในนครซานฟรานซิสโกของสหรัฐฯ คือหนึ่งในสิ่งปลูกสร้างอันโด่งดังที่สุดในโลก ทว่านับแต่เปิดใช้งานในปี 1937 สะพานยาว 2.7 กิโลเมตรแห่งนี้ยังกลายเป็นสถานที่ที่ผู้คนจำนวนมากใช้กระโดดปลิดชีพตัวเองด้วย ชื่อเสียงเชิงลบดังกล่าวกำลังจะกลายเป็นอดีต เมื่อมีการติดตั้งตาข่ายนิรภัยไว้ด้านใต้สะพาน ซึ่งกลุ่มผู้เกี่ยวข้องหลายคน รวมถึงผู้รอดชีวิตจากการฆ่าตัวตายที่สะพานแห่งนี้บอกว่า การออกแบบทางสถาปัตยกรรมใหม่นี้จะเป็น “ตัวแปรสำคัญ” ในการแก้ปัญหาการฆ่าตัวตายที่นี่ “สะพานนี้จะกลายเป็นประทีปนำทางสำคัญที่สุดในการป้องกันการฆ่าตัวตายทั่วโลก” เควิน ไฮนส์ บอกกับบีบีซีไม่ใช่เรื่องเกินจริงที่จะพูดว่า ชายวัย 41 ปีผู้นี้ได้อุทิศชีวิตที่สองของเขาให้แก่สะพานโกลเดนเกตเมื่อปี 2000 ตอนอายุได้ 19 ปี ไฮนส์รอดชีวิตจากการพยายามฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดจากสะพานโกลเดนเกตที่ความสูง 75 เมตรลงสู่ผืนน้ำอันหนาวเหน็บของมหาสมุทรแปซิฟิกข้อมูลจาก Golden Gate Bridge Highway and Transportation District หน่วยงานกำกับดูแลพื้นที่บริเวณสะพานโกลเดนเกตระบุว่า นับแต่สร้างแล้วเสร็จเมื่อ 85 ปีก่อน มีคนใช้สะพานแห่งนี้เป็นสถานที่ปลิดชีพตัวเองไปกว่า 1,800 คน
หลังจากไฮนส์ฟื้นตัวจากอาการบาดเจ็บสาหัสที่เกิดจากความพยายามฆ่าตัวตายครั้งนั้น เขาก็อุทิศตนเป็นนักรณรงค์ป้องกันการฆ่าตัวตาย อีกทั้งร่วมมีส่วนผลักดันให้มีการติดตั้งตาข่ายนิรภัยที่สะพานแห่งนี้
ข่าวออกแบบ แผนการการติดตั้งตาข่ายนิรภัยที่สะพานโกลเดนเกตได้รับการอนุมัติมาตั้งแต่ปี 2008 ทว่าการก่อสร้างเพิ่งจะได้เริ่มขึ้นในอีก 10 ปีต่อมา และการทำงานก็เผชิญกับความล่าช้าจากปัญหาต่าง ๆ เช่น ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว โดยในเบื้องต้นคาดว่าจะโครงการนี้จะใช้งบประมาณราว 76 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่การประเมินล่าสุดพบว่าค่าใช้จ่ายจริงได้พุ่งทะลุหลัก 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อันเป็นผลพวงมาจากการระบาดของโควิด-19 และปัญหาด้านการบริหารจัดการคาดว่าการติดตั้งตาข่ายนิรภัยจะแล้วเสร็จภายในเดือน พ.ย. 2023เควิน ไฮนส์ แสดงความเห็นต่อเรื่องนี้ว่า ความล่าช้าที่เกิดขึ้นเป็นเรื่อง “น่าเศร้า” แต่เขาอยากมุ่งความสนใจไปยังเรื่องที่ว่า โครงการซึ่งมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Suicide Deterrent System (ระบบยับยั้งการฆ่าตัวตาย) นี้กำลังจะกลายเป็นความจริง หลังจากมีการถกเถียงถึงเรื่องนี้มาตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1950“น่าเศร้าที่มันใช้เวลานานมาก แต่ผมก็ดีใจที่มันกำลังจะแล้วเสร็จ ผมอยากมองไปยังผลลัพธ์ที่ดีที่จะเกิดขึ้นเมื่อมันเสร็จสมบูรณ์มากกว่า” ไฮนส์ กล่าว ที่ผ่านมา การยับยั้งการฆ่าตัวตายที่สะพานโกลเดนเกตส่วนใหญ่ต้องอาศัยเจ้าหน้าที่ฝ่ายบังคับใช้กฎหมาย และกลุ่มอาสาสมัครต่าง ๆ
แนะนำข่าวออกแบบ อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : เผยโฉม เรือเต่ายักษ์ ออกแบบเป็น เมืองลอยน้ำ มูลค่าเกือบ 3 แสนล้าน